หน้าหลัก ---> กระดาน โชว์พระเครื่อง ---> ประวัติหลวงพ่อผอง ธมฺมธีโร วัดพรหมยาม ต.สามแยก อ. วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์

Total 3 Record : 1 Page : 1

ประวัติหลวงพ่อผอง ธมฺมธีโร วัดพรหมยาม ต.สามแยก อ. วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์

ส่งข้อความ



พระครูธีรพัชโรภาส   ( ผอง ธมฺมธีโร ) เจ้าอาวาสวัดพรหมยาม


ชาติภูมิ
นามเดิมท่านชื่อ    ผอง    นามสกุล   อินทรผล   ฉายา   ธมฺมธีโร    แปลว่า   ผู้เป็นปราชญ์ในทางธรรม แต่ชาวบ้านมักนิยมเรียกกันว่าหลวงพ่อวัดพรหมยาม หรือหลวงพ่อผอง   เพราะท่านเป็นผู้สร้างวัดพรหมยามร่วมกับชาวบ้านขึ้นมาเป็นครั้งแรก    ท่านเกิดเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2467 ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 5 ปี ชวด   ที่บ้านหันน้อย   ตำบลหนองมะเขือ   อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น   บิดาชื่อพ่อหลอด อินทรผล มารดาชื่อแม่บุญโฮม   ผลโพธิ์   มีพี่น้องร่วมท้องมารดาเดียวกัน 7 คน   ท่านเป็นพี่ชายคนโต
 

การศึกษาในเบื้องต้น
ในวัยเยาว์ท่านจบชั้น ม.ศ. 3 จากโรงเรียนบำรุงไทย 2 อำเภอพล   จังหวัดขอนแก่น   ในวัยเยาว์ท่านเป็นเด็กที่มีนิสัยโอบอ้อมอารีมีความเมตตากรุณา    และขยันใส่ใจในการเรียนหนังสือ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ทำให้ท่านเรียนจบ ชั้น ม.ศ. 3 ในช่วงปี พ.ศ. 2485 ซึ่งหาผู้ที่จะเรียนจบชั้น ม.ศ. 3  ได้ยากมาก  ๆ     เพราะผู้ที่จบการศึกษาระดับนั้นในสมัยนั้น ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้สูงมาก สามารถเข้ารับราชการหรือทำงานดี ๆ  ได้อย่างสบาย  แต่ท่านมีจิตใจฝักใฝ่ทางธรรม    พอถึงช่วงปี  2488   ท่านได้เข้ารับการฝึกเป็นกองทหารอาสา      เพื่อเตรียมที่จะเข้าร่วมรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่   2   แต่พอปลายปีสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้ยุติลงเสียก่อน ท่านจึงไม่ได้ไปร่วมรบแต่อย่างใด พอถึงต้นปี 2489   ท่านก็ได้อุปสมบท 


อุปสมบท
ท่านอุปสมบทเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2489 ตรงกับวันจันทร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 4 ที่วัดศรีชมชื่น    ซึ่งตั้งอยู่ที่    หมู่ที่   15   ตำบลบ้านเรือ    อำเภอภูเวียง      จังหวัดขอนแก่น     มีพระครูปฏิพัทธ์ธรรมคุณ   เป็นพระอุปัชฌาย์ 


วิทยฐานะ
พ.ศ.  2489 สอบได้นักธรรมชั้นตรี       ที่วัดโพธิ์ชัย      อ. ภูเวียง จ. ขอนแก่น
พ.ศ.  2490   สอบได้นักธรรมชั้นโท      ที่วัดสระแก้ว     อ. ภูเวียง จ. ขอนแก่น
พ.ศ. 2493    สอบได้นักธรรมชั้นเอก    ที่วัดสว่างเนตร อ. ชนแดน จ. เพชรบูรณ์


งานด้านปกครอง
พ.ศ. 2514   เป็นเจ้าอาวาสวัดพรหมยาม
พ.ศ. 2532 เป็นเจ้าคณะตำบลสระประดู่  –  สามแยก
พ.ศ. 2550 เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลสระประดู่ – สามแยก
 

สมณศักดิ์
พ.ศ. 2528 เป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2531 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร  ( พระครูธีรพัชโรภาส )
ในช่วงปี    2498  –  2506    นี้หลวงพ่อท่านยังได้เป็นพระครูใบฎีกาพระฐานานุกรมของหลวงพ่อทบ    เจ้าคณะอำเภอชนแดนในสมัยนั้นอีกด้วย       แต่หลวงพ่อท่านจำปีที่แน่นอนตอนได้รับตำแหน่งไม่ได้     ผู้เขียนเลยไม่ได้เขียนลงระบุปีเอาไว้     แต่ผู้เขียนยืนยันว่าหลวงพ่อท่านได้พระครูใบฎีกาแน่นอน   เพราะผู้เขียนเคยเห็นใบตราตั้งของท่านในสมัยก่อน      ที่เข้าไปช่วยท่านเก็บของเลยเขียนเอาไว้ให้ลูกศิษย์ของหลวงพ่อได้ทราบประดับความรู้กัน


การศึกษาพุทธาคม
ผู้เขียนได้พยายามสอบถามถึงพระอาจารย์องค์แรกของท่าน      ที่สอนวิชาอาคมต่าง   ๆ ให้กับท่าน    ในช่วงที่ท่านบวชในระยะแรกช่วงเวลา  4   พรรษา    ก่อนที่จะมาอยู่ที่อำเภอชนแดน ท่านบอกว่าไม่มี    จะมีก็แต่พระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์   ที่แนะนำสอนทางด้านพระกรรมฐานเบื้องต้นให้ในช่วงที่บวชใหม่  ๆ  แต่หลังจากมาอยู่ที่วัดสว่างเนตรเมื่อปี 2492 เป็นต้นมา   ท่านก็ได้เรียนวิชาจากหลวงพ่ออ้วนยอดเกจิแห่งดงขุยในยุคนั้น  ( ยุคเดียวกับหลวงพ่อทบ  หลวงพ่ออ้วนท่านนี้ก็เก่งเยี่ยมยุทธมาก ๆ ใครผ่านไปแถว   ดงขุย    ท่าข้าม  สากเหล็ก   ทับคล้อ   ตะพานหิน ถามกิตติศัพท์หลวงพ่ออ้วนได้  คนแถวนั้นนับถือหลวงพ่ออ้วนกันมาก   )   และท่านยังได้เดินทางมากราบเรียนวิชากับหลวงพ่อทบอีกด้วย   ช่วงที่ศึกษาเรียนวิชากับหลวงพ่อทบนี้     ท่านก็เรียนไม่เหมือนกับอาจารย์เพ็ง ศิษย์เอกหลวงพ่อทบอีกรูปหนึ่งเสียทีเดียว   อาจารย์เพ็งนั้นท่านจะเรียนในด้านการเขียนจารอักขระเลขยันต์    ส่วนหลวงพ่อผองท่านจะเน้นเรียนทางด้านบริกรรมและปฏิบัติทางด้านสมถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานและเคล็ดวิชาที่สำคัญ  ๆ   เท่านั้น   ส่วนการเขียนจารอักขระเลขยันต์ต่าง  ๆ ท่านก็เรียนบ้างแต่ไม่มาก   ท่านจะเน้นทางด้านการฝึกสมาธิ   “ เพราะท่านยึดถือตามคำสอนของหลวงพ่อทบที่ว่า   ถ้าใจนิ่งใจสงบปราศจากกิเลสแล้วจะปลุกเสกอะไรก็ดีก็ขลังไปหมด “    จึงนับได้ว่าทั้งหลวงพ่ออ้วนและหลวงพ่อทบ   ทั้ง  2 ท่านเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อผอง 

ส่วนหลวงพ่อเขียนนั้น     ผู้เขียนถามแล้วว่าท่านเคยเจอและได้ฝากตัวเป็นศิษย์บ้างหรือเปล่า   ท่านบอกว่าเคยเจอหลวงพ่อเขียนหลายครั้ง    เพราะท่านไปงานกิจนิมนต์ต่าง  ๆ  ร่วมกับหลวงพ่อทบ       แต่หลวงพ่อผองก็ไม่ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อเขียนแต่อย่างใด      แต่ท่าน ( หลวงพ่อผอง )  ได้พูดถึง
พุทธคุณพระเครื่องของหลวงพ่อเขียนกับหลวงพ่อทบไว้ว่า “   พระเครื่องของหลวงพ่อเขียนนั้นท่านเน้นทางด้านอยู่ยงคงกะพัน    ส่วนของหลวงพ่อทบท่านเน้นแคล้วคลาดปลอดภัยและเมตตามหานิยม “      ผู้เขียนได้ยินจากปากของหลวงพ่อผองอย่างนี้จึงได้เขียนลง

เอาไว้   เพราะต่อไปจะหาคนที่รู้เห็นและอยู่ทันถึงประสบการณ์ของหลวงพ่อทบและหลวงพ่อเขียนได้น้อยเต็มที 
           
ผู้เขียนยังถามถึงหลวงพ่อเดิมว่า หลวงพ่อผองท่านได้เคยฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเดิมหรือเปล่า   ท่านบอกว่าไม่เคยเจอกับหลวงพ่อเดิม ( เพราะหลวงพ่อผองท่านมาอยู่ที่ชนแดนช่วงบั้นปลายอายุสังขารของหลวงพ่อเดิม ตอนนั้นหลวงพ่อเดิมท่านชราภาพมากแล้ว จึงไม่ค่อยได้เดินทางไปปลุกเศกวัตถุมงคลที่ไกล ๆ หลวงพ่อเดิมมรณะ ปี 2494 หลวงพ่อผองมาอยู่ชนแดน ปี 2492 )
           
ส่วนหลวงพ่อเตียง    ผู้เขียนก็ได้ถามว่าเคยเจอท่านบ้างหรือเปล่า   หลวงพ่อผองท่านบอกว่าไม่เคยเจอกัน ( เข้าใจว่าช่วงนั้น 2492
– 2506 หลวงพ่อเตียงท่านยังไม่ค่อยมีชื่อเสียงเท่าไหร่ เพราะโดนชื่อเสียงของหลวงพ่อเขียนและหลวงพ่อทบท่านทั้ง 2  ปิดหมด  หลวงพ่อเตียงท่านเริ่มมามีชื่อเสียงช่วงปี   2510 กว่า  ๆ   ไปแล้ว   นี่เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน   )
ได้พระอาจารย์


ท่านอยู่จำพรรษาแรกที่วัดโพธิ์ชัย  1 พรรษา    และย้ายมาจำพรรษาที่วัดสระแก้วอีก   1 พรรษาหลังจากนั้นท่านได้กราบลาพระอุปัชฌาย์ของท่าน      ออกเที่ยวจาริกเดินธุดงค์ไปยังตามสถานที่ต่าง    ๆ   เพื่อฝึกจิตปฏิบัติธรรมและแสวงหาพระอาจารย์ที่เก่ง   ๆ   เพื่อสอนทางด้านวิชาอาคม    ท่านได้เดินจาริกธุดงค์ลัดเลาะผ่านมาทางเทือกเขาชัยภูมิ       มาจำพรรษาที่วัดมะกอกหวาน   อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี   2   พรรษา  พอหลังจากออกพรรษาแล้ว     ท่านได้เที่ยวจาริกเดินธุดงค์เพื่อแสวงหาอาจารย์ในการสอนพระกรรมฐานและวิชาต่าง  ๆ   ท่านจึงได้เดินธุดงค์ไปทั่วตามจังหวัดต่าง  ๆ   ในภาคกลางไม่ว่าจะเป็น   สระบุรี   อยุธยา  ชัยนาถ นครสวรรค์   และท่านมีจุดประสงค์ที่จะเดินธุดงค์ขึ้นไปทางภาคเหนือ   เพราะท่านได้ทราบมาว่าทางภาคเหนือนั้นมีธรรมชาติป่าเขาที่สงบเหมาะแก่การฝึกพระกรรมฐาน    ท่านได้เดินธุดงค์ผ่านมาแวะพักที่   อำเภอตะพานหิน  จังหวัดพิจิตร   เหมือนท่านจะได้เคยร่วมบำเพ็ญบารมี   ในฐานะศิษย์และอาจารย์กับหลวงพ่อทบ    เทพเจ้าแห่งเมืองมะขามหวานมาแต่ครั้งอดีต    ท่านได้รับการชักชวนจากหลวงพ่ออ้วน  ( พระครูวิชาญพัชรกิจ )  เจ้าอาวาสวัดสว่างเนตรในสมัยนั้น 

  ( หลวงพ่ออ้วนท่านนี้ตอนหลังที่ท่านมรณภาพ   หลวงพ่อผองท่านยังได้เดินทางไปทั้งตอนบรรจุศพ   และตอนพระราชทานเพลิงศพในฐานะที่ท่านเครารพเป็นพระอาจารย์องค์หนึ่งอีกด้วย  )  ให้มาอยู่ด้วยกันเพื่อสร้างถาวรวัตถุและสอนหนังสือพระภิกษุสามเณร     เนื่องจากหลวงพ่ออ้วนท่านเห็นว่า     หลวงพ่อผองท่านมีความรู้ทางโลกถึงชั้น ม.ศ. 3  และความรู้ทางธรรมถึงนักธรรมชั้นโท       ท่านจึงได้มาจำพรรษาที่วัดสว่างเนตร      ตำบลดงขุย    อำเภอชนแดนและสอบนักธรรมชั้นเอกได้ที่วัดนี้    และท่านยังอยู่จำ

จำพรรษาที่วัดสว่างเนตรนี้ถึง     6     พรรษา       หลังจากนั้นท่านได้ย้ายมาจำพรรษาต่อที่วัดสิริรัตนาราม    บ้านท่าข้าม   อำเภอชนแดนอีก  8   พรรษา
  

ในช่วงระยะเวลา  10  กว่าปีที่ท่านอยู่ที่นี่       ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่ออ้วน     เรียนวิชาต่าง      ๆ     จากหลวงพ่ออ้วนจนมีความรู้ในด้านต่าง ๆ พอสมควร   หลังจากนั้นท่านยังได้เดินทางมากราบ      และฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อทบที่วัดเขาน้อย     (   วัดพระพุทธบาทเขาน้อย    )     โดยในช่วงระยะเวลาเข้าพรรษานั้น     ท่านจะเดินทางไปกลับระหว่างวัดที่ท่านพักจำพรรษา    (    วัดสว่างเนตรห่างจากวัดเขาน้อยประมาณ   15   ก.ม.   วัดสิริรัตน์   บ้านท่าข้ามห่างวัดเขาน้อยประมาณ   6  ก.ม.     เดินทางอาทิตย์ละประมาณ     3  
–  4  ครั้ง    ท่านได้เล่าให้ฟังว่า   การเดินทางจะใช้วิธีขึ้นรถโดยสารที่มีตัวถังรถเป็นไม้ที่นิยมกันมากในสมัยนั้น    ปัจจุบันไม่มีให้เห็นแล้วจะพอเหลืออยู่บ้างแถว ๆ อำเภอตะพานหิน     เพื่อมาสอนหนังสือพระภิกษุสามเณร       และปรนนิบัติหลวงพ่อทบที่วัดเขาน้อย    ผู้เขียนยังได้ถามท่านอีกด้วยว่า     การเดินทางมาสอนหนังสือช่วยหลวงพ่อทบที่วัดเขาน้อย   ก็ลำบากมากเพราะหนทางไกล   และต้องเทียวไปกลับในช่วงเข้าพรรษาต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนตัวสูงทีเดียว    หลวงพ่อทบท่านถวายค่าสอนหนังสือให้พอค่ารถหรือเปล่า     หลวงพ่อผองท่านตอบว่า    ท่านไม่เอาปัจจัยค่าสอนเลยสักนิดเดียว     เพราะท่านตั้งใจสอนหนังสือเพื่อสงเคราะห์พระภิกษุสามเณรให้มีความรู้เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา     และเพื่อช่วยตอบแทนพระคุณหลวงพ่อทบซึ่งเป็นพระอาจารย์ของท่าน     พอถึงช่วงระยะเวลานอกพรรษานั้นท่านจะเดินจาริกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ เพื่อฝึกปฏิบัติเพิ่มเติม    พอถึงช่วงไหนที่ท่านไม่ได้เดินธุดงค์ท่านก็เดินทางมาค้างที่วัดเขาน้อย    ครั้งละ 1  เดือน บ้าง  2  เดือนบ้าง     แล้วแต่โอกาสจะอำนวย     เพื่อมาช่วยหลวงพ่อทบก่อสร้างถาวรวัตถุและศึกษาวิชาอาคมจากหลวงพ่อทบ      

หลวงพ่อท่านก็เมตตาสอนวิชาความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับคาถาอาคมให้หลวงพ่อผองควบคู่กับศิษย์ท่านอื่น  เช่น อาจารย์เพ็ง  ฯลฯ จนหมดสิ้น  และหลวงพ่อทบท่านยังได้สอนเคล็ดลับการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง   ให้ขลังและศักดิ์สิทธ์มีพุทธคุณว่า    “ การจะปลุกเสกพระเครื่องและเครื่องรางของขลังให้ศักดิ์สิทธิ์ได้นั้น   ใจจะต้องนิ่งสงบจากกิเลส     จิตจะต้องแข็งได้ฌานจะปลุกเสกอะไรสิ่งนั้นก็จะดีไปหมด    “    ส่วนเคล็ดลับคาถาที่หลวงพ่อทบสอนหลวงพ่อผองและศิษย์ท่านอื่น     ๆ     ให้เอาไว้ปลุกเสกพระเครื่องและเครื่องราง   หลวงพ่อทบมักจะสอนเป็นประจำด้วยคำพูดที่ว่า    “   พวกท่านจะไปรู้อะไร พวกท่านลืมของดีไป  นะ โม พุท   ธา ยะ ซิแน่และดีที่สุด   “   หลวงพ่อผองท่านยังย้ำอีกว่า  หลวงพ่อทบจะพูดถึงเรื่องคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ให้พวกลูกศิษย์ฟังบ่อยมาก    สังเกตว่า ยันต์นะโมพุทธายะ หรือยันต์พระเจ้าห้าพระองค์   หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า  ยันต์พระเจ้าอมโลก    จะประทับอยู่ด้านหลังของวัตถุมงคลของหลวงพ่อทบมากที่สุด   หลายรุ่นหลายพิมพ์ด้วยกัน    เช่น    ด้านหลังแหวนเพชรกลับ  หลังเหรียญทูลเกล้า หลังพระสมเด็จรุ่นเข็มหัก ฯลฯ เป็นต้น    ในช่วงที่ท่านจำพรรษา 10 กว่า



พรรษาที่อำเภอชนแดนนี้      ท่านยังได้เคยดำรงตำแหน่งทางการปกครองเป็นเจ้าคณะตำบลดงขุย  
–  ชนแดน และเป็นพระครูใบฎีกาพระฐานานุกรมในพระครูวิชิตพัชราจารย์ของหลวงพ่อทบอีกด้วย   นอกจากนั้นท่านยังได้เป็นพระคู่สวดคู่กับพระอาจารย์เพ็ง   (  ศิษย์เอกหลวงพ่อทบอีกรูปหนึ่ง     อาจารย์เพ็งรูปนี้ตอนหลังได้ย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสทางอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ และช่วงที่หลวงพ่อผองได้ย้ายมาสร้างวัดที่บ้านพรหมยามแล้ว     อาจารย์เพ็งยังได้เดินทางมาพักปฏิบัติธรรมที่วัดพรหมยามกับหลวงพ่อผองเป็นประจำเกือบทุกปี    บางปีก็มาหลายครั้ง   ครั้งละ
หลายวัน   ปัจจุบันท่านได้มรณภาพไปแล้ว  )    

โดยมีหลวงพ่อทบนั่งเป็นพระอุปัชฌาย์    ท่านได้เดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ ในแถบ   ดงขุย    ท่าข้าม วังโป่ง ชนแดน สามแยกวังชมภู ยางหัว
ลม นาเฉลียง ฯลฯ   เพื่อร่วมบวชพระกับหลวงพ่อทบ   การบวชพระในสมัยก่อนนั้นก็ลำบากมาก ๆ    ต้องอาศัยความอดทนสูงและลาภสักการะก็ไม่มีมากเหมือนในสมัยนี้    หลวงพ่อทบท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ที่มุ่งบวชกุลบุตร   เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาจริง ๆ   หลวงพ่อผองท่านเล่าว่าเมื่อก่อนชาวบ้านที่อยู่ห่างไกลวัดเขาน้อยต่างบ้านต่างอำเภอออกไป   เช่น  วังโป่ง ดงขุย   ท่าข้าม สามแยกวังชมภู    นาเฉลียง  บ้านยางหัวลม ฯลฯ มีความศรัทธาต่อหลวงพ่อทบ   อยากให้หลวงพ่อทบไปบวชลูกบวชหลานของตัวเอง ก็ต้องนัดวันกันให้ดีเพราะหลวงพ่อทบและพระคู่สวด ( คือหลวงพ่อผอง กับอาจารย์เพ็ง )  เดินทางไปบวชพระแต่ละครั้งจะต้องพักค้างคืนที่วัดในหมู่บ้านนั้น ๆ และบวชกุลบุตรทีครั้ง   20 – 30 คน    เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเที่ยวในการเดินทางไป   เพราะการเดินทางในสมัยนั้นลำบากมาก  ๆ    รถประจำทางจะมีแต่บริเวณถนนใหญ่ที่รถผ่านได้เท่านั้น   ถ้าหมู่บ้านอยู่ลึกเข้าไปจากข้างทางถนนใหญ่   ต้องเดินด้วยเท้าเข้าไปกันอย่างเดียว  เพราะชาวบ้านแถบเพชรบูรณ์ทั่วไปในยุคนั้น   (  2492 – 2506  )     จะหาคนมีรถยนต์ส่วนตัวยากมาก  ๆ  คนที่สามารถมีรถยนต์ส่วนตัวได้ในสมัยนั้น    จะต้องเป็นคนรวยมีฐานะมั่งคั่งจริง   ๆ    ถึงจะสามารถมีรถยนต์ส่วนตัวได้   เพราะรถยนต์ในสมัยนั้นมีราคาแพงมาก ๆ  ส่วนเรื่องเดินบวชพระนั้น   หลวงพ่อทบท่านก็เดินเหมือนกับพระรูปอื่น ๆ  หลวงพ่อผองท่านยังเล่าให้ฟังเพิ่มเติมด้วยว่า “ หลวงพ่อทบถึงท่านจะเป็นคนรูปร่างเล็กแต่ท่านเดินไวมาก   ๆ    ส่วนมากแล้วพระที่เดินทางไปบวชพระกับท่านจะเดินตามท่านกันไม่ค่อยทัน

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยถึงปฏิปทาของหลวงพ่อทบ

ปฏิปทาแปลก ๆ   ของหลวงพ่อทบ ที่ผู้เขียนได้ยินมาจากปากของหลวงพ่อผองเอง นำมาเขียนเอาไว้    เพื่อที่จะได้ทราบเป็นเกร็ดความรู้ถึงปฏิปทาของหลวงพ่อทบ

เรื่องที่ 1.

หลวงพ่อทบท่านชอบสมถะ   ไม่ยึดติดในลาภสักการะและยศถาบรรดาศักดิ์   ปฏิบัติตัวเรียบง่ายจีวรที่ท่านนุ่งห่มท่านก็ใช้ไปตามมีตามได้   จนกว่าจะขาดหรือสูญหายไป    บางครั้งท่านยังเอาผ้าสบงสีซีด ๆ ที่ทำเป็นผ้าเช็ดเท้ามานุ่งก็เคยมี   และหลวงพ่อทบนี้ถึงแม้ว่าดวงตาท่านจะดุ
เพราะท่านฝึกกสิณสมาบัติมา    แต่หลวงพ่อผองท่านยืนยันว่า “ หลวงพ่อทบท่านใจดีมาก   ๆ  มีความเมตตากรุณาสูง “     มีอยู่ครั้งหนึ่งบวชพระเสร็จแล้ว     เจ้าภาพไม่ค่อยมีเงินถวายปัจจัยรวมทั้งหมดทั้งพระอุปัชฌาย์พระคู่สวด   พระนั่งลำดับ รวมได้   20  บาท  หลวงพ่อทบท่านรับมาแล้วก็ส่งให้หลวงพ่อผอง  แล้วบอกให้ไปซื้อน้ำแข็งถวายพระให้หมด  การอยู่การฉันของหลวงพ่อทบก็เป็นไปอย่างง่าย ๆ   ไม่มีพิธีรีตองเลือกฉันอาหารดี  ๆ แต่อย่างใด   อยู่ที่วัดเขาน้อยเหมือนหลวงตา
18
แก่ ๆ องค์หนึ่ง   (  พอเล่าถึงตรงนี้หลวงพ่อผองท่านก็หัวเราะชอบใจ  )    นับว่าหลวงพ่อทบท่านเป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น      แต่ท่านก็มีปฏิปทาที่สมถะมักน้อยสันโดษมากองค์หนึ่ง
 (  เรื่องดวงตาข้างขวาที่บอดของหลวงพ่อทบนี้   หลวงพ่อผองท่านยังบอกว่า    ท่านย้ายมาสร้างวัดที่พรหมยาม    หลังจากปี  2506  แล้ว    ดวงตาหลวงพ่อทบข้างขวาจึงได้บอดสนิท   ไม่ใช่บอดตั้งแต่ช่วงก่อนปี 2500 อย่างที่ศิษย์หลวงพ่อทบบางคนเข้าใจกัน    )
 
 
เรื่องที่ 2.

            หลวงพ่อทบกวักรถให้มารับ    เรื่องนี้ผู้เขียนเคยได้ยินได้ฟังจากคนหลายคนและหลายที่  เกี่ยวกับหลวงพ่อทบกวักรถให้หยุด     แต่พึ่งมาได้ยินจากปากหลวงพ่อผองครั้งนี้      ตอนนั้นท่าน ( หลวงพ่อผอง )   ท่านได้เดินทางไปบวชพระกับหลวงพ่อทบและพระลูกวัดที่อำเภอวังโป่ง     ตอนนั้นยังเป็นตำบลวังโป่งอยู่    เส้นทางคมนาคมกันดารลำบากมาก    ต้องเดินเท้าเข้าไปหรือไม่ก็ต้องอาศัยรถของพวกชักลากไม้    นอกจากจะเป็นป่าดงดิบรกร้างแล้ว     ป่าวังโป่งสมัยนั้นยังชุกชุมไปด้วยสัตว์ร้ายต่าง   ๆ  เช่น  ช้าง  เสือ  หมี หมูป่า  ฯลฯ   อีกด้วย    พอบวชพระเสร็จหลวงพ่อทบ หลวงพ่อผอง และพระลูกวัดอีก 3 รูป   ได้เดินเท้ากลับออกมาจากตำบลวังโป่ง   ( ระยะทางวังโป่งชนแดนประมาณ 25 กิโลเมตร  )    พอเดินมาได้สักพักก็มีรถบรรทุกไม้วิ่งออกมาและได้วิ่งเลยท่านไปจนลับตา    พอรถลับสายตาไปแล้ว     หลวงพ่อทบได้ออกมายืนกลางถนนแล้วยกมือทั้ง  2 ข้าง ขึ้นทำท่ากวักขึ้นลงช้า  ๆ  2 – 3   ครั้ง   พร้อมกับบริกรรมคาถาไปด้วย     ชั่วเวลาไม่กี่อึดใจรถที่วิ่งเลยไปจนลับสายตา      ก็วิ่งกลับมารับหลวงพ่อทบและหลวงพ่อผองพร้อมด้วยพระลูกวัดขึ้นรถพามาส่งที่ชนแดน   ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วหลวงพ่อทบกับหลวงพ่อผองพร้อมด้วยพระลูกวัดจะต้องเดินจนมืดค่ำกว่าจะถึงวัดเขาน้อยชนแดน

  
เรื่องที่ 3.

หลวงพ่อทบกวักโยม  ครั้งนี้หลวงพ่อผองได้นั่งอยู่ที่หน้ากุฏิหลวงพ่อทบ   วันนั้นไม่มีญาติโยมเดินทางมาที่วัดเขาน้อย  บรรยากาศในวัดเงียบสงบหลวงพ่อทบเดินออกมาหน้ากุฏิ    แล้วยกมือ  2  ข้างขึ้นมากวักขึ้นลงช้า  ๆ    พร้อมกับบริกรรมคาถาเพ่งกระแสจิตไปด้วย  ไม่นานก็มีญาติโยมเดินทางเข้าวัดมาหาท่านที่กุฏิ และท่านจะกวักเป็นประจำ    ถ้าวันไหนวัดเขาน้อยเงียบเหงาไม่มีโยมมาทำบุญ     เพราะหลวงพ่อทบท่านต้องดูแลพระเณรเยอะหลายสิบรูปและศิษย์วัดอีกหลายคน    หลวงพ่อผองท่านยังเล่าเพิ่มอีกว่า   ตลอดเวลาที่ท่านอยู่ที่ชนแดน 10   กว่าปี    ท่านไม่เคยเห็นหลวงพ่อทบมีสมบัติส่วนตัวที่มีค่าเลยแม้แต่ชิ้นเดียว การกวักเรียกญาติโยมนับว่าเป็นปฏิปทาที่แปลก   ๆ    ของหลวงพ่อทบอีกเรื่องหนึ่ง    ที่หลวงพ่อผองท่านเห็นและเล่าให้ผู้เขียนฟัง
(  เพราะปฏิปทาแปลก ๆ ของหลวงพ่อทบแบบนี้    จึงทำให้ในช่วงปี  2505     ทางวัดเขาน้อยได้สร้างรูปหล่อหลวงพ่อทบเป็นพิมพ์พุทธกวัก   โดยเป็นรูปหลวงพ่อทบนั่งขัดสมาธิมือขวายกขึ้นกวัก
ออกมาทางด้านหน้า  แต่จะกวักมือเดียวคือมือขวา  ส่วนปฏิปทาจริงที่หลวงพ่อผองท่านเห็นหลวงพ่อทบกวักมือหลายครั้ง    ท่านจะกวักมือพร้อมกันขึ้นลงทั้ง  2  ข้าง    )
 
เรื่องที่ 4.

นอกจากนั้นหลวงพ่อผองท่านนี้     ก่อนที่ท่านจะเดินธุดงค์มาสร้างวัดพรหมยาม ท่านยังได้รับของดีชิ้นหนึ่งจากมือของหลวงพ่อทบอีกด้วย   นั่นคือ   ก้นจุกไม้ที่รองตะบันหมากของหลวงพ่อทบ   วันนั้นท่านนั่งอยู่แถว  ๆ   กุฏิของหลวงพ่อทบ   หลวงพ่อทบเดินมาหาแล้วยื่นไม้สีดำ  ๆ  ท่อนเล็ก ๆ   ให้ชิ้นหนึ่ง    พร้อมกับพูดว่า     เอ้า เอาไป เก็บไว้ให้ดีนะ  “    ท่านรับมาแล้วก็เก็บติดตัวไว้ตลอด หลังจากที่ย้ายมาอยู่ที่พรหมยามแล้ว ท่านได้เก็บไม้รองก้นตะบันหมากนี้ไว้ในย่าม   ตอนหลังนายธรรมเนียม จันดา    ศิษย์ก้นกุฏิของหลวงพ่อผองได้มาขอไปบูชาแล้วตอนหลังได้ถูกลูกชายของตนเอง   ขอเอาไปบูชาที่จังหวัดอ่างทอง    ทำให้ตอนนี้ก้นจุกไม้รองก้นตะบันหมากของหลวงพ่อทบได้สูญหายไป    ผู้เขียนพยายามตามเส้นทางการเปลี่ยนมือไปก็ไม่เจอ

 
ข้อสันนิษฐานจากผู้เขียน

การที่หลวงพ่อผองท่านได้เก็บไม้รองก้นตะบันหมากชิ้นเล็ก ๆ ของหลวงพ่อทบเอาไว้หลายสิบปี   โดยเก็บเอาไว้ในย่ามของท่านอย่างดีตลอดมา   แสดงให้เห็นว่าท่านต้องมีความเคารพนับถือในตัวหลวงพ่อทบเป็นอย่างมาก    เพราะถ้าท่านไม่นับถือว่าหลวงพ่อทบเป็นพระอาจารย์ของท่านแล้ว    ท่านคงทิ้งชิ้นไม้เล็ก   ๆ  ชิ้นนี้ที่หาค่าไม่ได้ไปนานแล้ว
ข้อสงสัยเกี่ยวกับหลวงพ่อทบ

นอกจากนั้นแล้วผู้เขียนยังได้ถามหลวงพ่อผอง      ถึงข้อสงสัยที่เกี่ยวกับหลวงพ่อทบและอาจารย์เพ็งอีกหลายเรื่อง  เช่น
หลวงพ่อทบเขียนหนังสือได้ไหม
หลวงพ่อผองท่านบอกว่า    หลวงพ่อทบเขียนหนังสือภาษาไทยไม่ได้เลย    ขนาดชื่อทางสมณศักดิ์  (  พระครูวิชิตพัชราจารย์  )  ท่านยังมาหัดเขียนเอาตอนได้สมณศักดิ์แล้ว    แต่ภาษาขอมท่านจะเขียนได้เพราะหลวงพ่อทบท่านเรียนมา
ใครจารตะกรุดให้หลวงพ่อทบ

หลวงพ่อผองท่านบอกว่า   ส่วนมากแล้วจะเป็นอาจารย์เพ็งที่จารให้  ท่านยังบอกอีกว่าตอนที่อยู่ชนแดนอาจารย์เพ็งนอกจากจะเป็นพระคู่สวดคอยบวชพระแล้ว     หน้าที่อีกอย่างของอาจารย์เพ็งก็คือจารตะกรุดแล้วนำไปให้หลวงพ่อทบปลุกเสก
อาจารย์เพ็งกับหลวงพ่อผองใครเป็นศิษย์หลวงพ่อทบก่อนกัน
           
20
อาจารย์เพ็งเป็นศิษย์ก่อน เพราะช่วงตอนปี 2492 ที่หลวงพ่อผองเจอหลวงพ่อทบ ก็เจออาจารย์เพ็งด้วยเช่นกัน 
อาจารย์เพ็งกับหลวงพ่อผองใครมีอายุมากกว่ากัน
          อาจารย์เพ็งจะมีอายุมากกว่าหลวงพ่อผอง ประมาณ 6 – 7 ปี 
ผู้เขียนถามว่าหลวงพ่อผองทำตะกรุดเป็นไหม
หลวงพ่อผองท่านบอกว่า    ท่านทำตะกรุดไม่เป็นแต่จารและปลุกเสกได้
เคยเห็นหลวงพ่อทบทำตะกรุดหรือเปล่า
ตลอดช่วงเวลาที่อยู่กับหลวงพ่อทบที่ชนแดน 10 กว่าปี    หลวงพ่อผองท่านยืนยันว่าไม่เคยเห็นหลวงพ่อทบทำตะกรุดเลย      มีแต่อาจารย์เพ็งจารโลหะมาให้หลวงพ่อทบปลุกเสกแล้วนำไปม้วนเป็นตะกรุดบ้าง   หรือไม่ก็จารแผ่นโลหะแล้วม้วนเป็นตะกรุดเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงนำมาให้หลวงพ่อทบปลุกเสก  ส่วนตะกรุดที่หลวงพ่อทบจารและม้วนเองหลวงพ่อผองท่านยืนยันว่าไม่เคยเห็นเลย  (  ผู้เขียนมีความเห็นว่า ตะกรุดที่หลวงพ่อทบจารและม้วนเองคงมีบ้างในยุคแรก  ๆ   ย้อนหลังปี 2490 ลงไป   สมัยที่ท่านยังแข็งแรง ๆ และยังไม่มีใครช่วยท่านจารและม้วนตะกรุด แต่คงหายากมาก   )
ท่านเคยเห็นการสร้างพระของหลวงพ่อทบในช่วงนั้นหรือเปล่า
หลวงพ่อผองท่านบอกว่า     เคยเห็นเพราะมีการจัดทำพิธีในการสร้างใหญ่มากในช่วงนั้น แต่การสร้างพระจะเป็นหน้าที่ของช่างทำพระเท่านั้น   ส่วนชาวบ้านก็จะมีหน้าที่ติดต่อประสานงานส่วนพระที่วัดเขาน้อยจะมีหน้าที่ในด้านพิธีกรรมต่าง  ๆ   และช่วยในด้านอื่น   ๆ
 
กราบลาพระอาจารย์

หลังจากที่หลวงพ่อผอง ได้อยู่ที่อำเภอชนแดนฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่ออ้วนและหลวงพ่อทบจนถึงต้นปี 2506 แล้ว    ท่านได้ตัดสินใจกราบลาหลวงพ่อทบ    ที่ประสิทธิประสาทวิชาความรู้ให้  เดินจาริกธุดงค์จากอำเภอชนแดน   ข้ามเทือกเขารังสามแยกวังชมภู   ผ่านมาทาง   นาเฉลียง หนองไผ่   บึงสามพัน   วิเชียรบุรี    และได้มาพักปฏิบัติธรรมที่วัดถ้ำท่าเกย   กับพระอาจารย์มหาแสวง  เจ้าอาวาสวัดถ้ำท่าเกยสมัยนั้น  พอถึงช่วงใกล้เข้าพรรษา ชาวบ้านจากบ้านพรหมยามกับบ้านโค้งสุพรรณ    ได้เดินทางมากราบนิมนต์ท่านให้มาจำพรรษาที่บ้านพรหมยาม เพื่อโปรดญาติโยม    เพราะเนื่องจากตอนนั้นบ้านพรหมยามซึ่งตั้งอ
ประวัติหลวงพ่อผอง ธมฺมธีโร วัดพรหมยาม ต.สามแยก อ. วิเชียรบุรี จ. เพชรบูรณ์



โดย   วันที่ 2012-12-06 12:17:16 
 
1.  

ส่งข้อความ


ภาพด้านบนเป็นภาพที่หลวงพ่อถ่ายไว้เมื่อประมาณปี 2510
จะทยอยนำภาพเก่า ๆ ของหลวงพ่อมาลงให้ชมกันเรื่อย ๆ ครับ






โดย   วันที่ 2012-12-06 12:33:16 
 
2.  

ส่งข้อความ





โดย  ช้าง วันที่ 2012-12-07 19:03:57 
 
3.  

ส่งข้อความ





โดย  กกกะทอน222 วันที่ 2012-12-08 15:54:16 
 

Total 3 Record : 1 Page : 1