หน้าหลัก ---> กระดาน ประวัติพระเกจิ ---> แก้ไขขัอผิดพลาดหน้าที่71...

Total 0 Record : 1 Page : 1

เน็ด นาป่า แก้ไขขัอผิดพลาดหน้าที่71...

ส่งข้อความ
แก้ไขขัอผิดพลาดหน้าที่71...เสาร์๕รุ่น๑ ( วันเสาร์ ที่ ๗ เมษายน ๒๕๕๐ ขึ้น ๕ ค่ำ )
เป็นรูปหล่อรุ่นแรกที่ทางวัดจัดสร้างจัดพิธีพุทธาภิเษก ณ วัดซับตะเคียน ในช่วงนั้นทางวัดยังไม่มีปัจจัยมากนักศิษยานุศิษย์จึงช่วยกันร่วมสมทบปัจจัยในการจ้างช่างแกะพิมพ์รูปหล่อ โดยใช้รุ่นปืนแตก๑ อ.เหล็กดำสร้างให้ช่างดูเป็นต้นแบบ และเวลากระชั้นชิดใกล้งานพิธีงานจึงออกมามีเอกลักษณ์เฉพาะตัวคลาสสิค(Classic) อีกแบบหนึ่ง
**หลวงปู่ขุ้ย ฐิตธัมโม เมตตาจารอักขระยันต์ แผ่นเงิน ๓ แผ่น แผ่นทองเหลือง ๓ แผ่น แผ่นทองแดง ๓ แผ่น ตะกรุดหลวงพ่อทบ ๑ ดอก ชานหมากและน้ำหมาก ๑ ห่อใหญ่ ผงมวลสารเก่า ทองเก่าโบราณวัดที่หลวงปู่ไปร่วมงานบุญถวายมา กำไลโบราณแหวนโบราณเงินโบราณ เทวรูปเก่า เพื่อให้โรงหล่อพระในครั้งนี้ด้วย
**ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง เสาร์๕รุ่น๑ ปี๕๐ และเสาร์๕รุ่น๑ หลวงตาแอ**
*ทางวัดซับตะเคียน แม่งานในการจัดสร้างโดยพระอาจารย์ ดำรงค์ ธนปัญโญ และคณะกรรมการดำเนินการในการจัดสร้าง.. เนื้ออัลปาก้าและเนื้อทองเหลือง ใต้ฐานพระ อุดฝากริ่ง 'นะ' และ 'อุ' ตอกโค๊ดกำกับ
จำนวนการสร้าง เงิน ๙๙ องค์ (มี๒แบบคือ เงินวาวใสและเงินขุ่นตอกโค๊ดไม่อุดกริ่ง)อัลปาก้า ๒,๐๐๐ องค์ ทองเหลือง ๓,๐๐๐ องค์ (หลวงตาบัวผัน ฐิตคุโณ หรือหลวงตาแอ แบ่งเนื้อทองเหลืองที่ตอกโค๊ดวัดซับตะเคียนไป 500 องค์ เพื่อนำไปแจกคณะผ้าป่าสามัคคีที่วัดโป่งสะทอน)
*เสาร์๕รุ่น๑ หลวงตาแอ(เสาร์๕หลวงตาแอ)เนื้ออัลปาก้า 10 องค์ เนื้อทองเหลือง ๓๐๐ องค์ ฝาอุดกริ่งมีทั้งทองแดงและตะกั่วลักษณะเรียบ จารปากกาไฟฟ้า 'อุ' ตอกโค๊ดคนละตัวกับทางวัดซับตะเคียน ลักษณะคล้ายกันสังเกตุให้ดีจะเห็นความแตกต่าง
**ทางวัดซับตะเคียนใช้โค๊ดนี้ตอกด้วยกัน๒รุ่น คือเสาร์๕รุ่น๑ ทุกเนื้อคือ เงิน อัลปาก้า ทองเหลืองและครบรอบ ๘๗ ปีหลวงปู่ขุ้ย เนื่องจากได้รับวัตถุมงคลมาพร้อมกัน ตอกโค๊ดเสร็จเจียทำลายโค๊ด (จะพบโค๊ดนี้๒รุ่นคือ เสาร์๕รุ่น๑ วัดซับตะเคียน และครบรอบ ๘๗ ปีหลวงปู่ขุ้ย ปี๕๐)
การตอกโค๊ดเจาะรูที่ไม้ใช้ผ้ารองวัตถุมงคลและตอกโค๊ด เปลี่ยนกันตอกทั้งพระสงฆ์ สามเณร ทำให้โค๊ดที่ตอกลึกบ้างตื้นบ้าง แต่ก็สังเกตุได้ชัดเจน
*เสาร์๕รุ่น๑ หลวงตาแอ(เสาร์๕หลวงตาแอ) วรรณองค์พระเดียวกันกับทางวัดซับตะเคียน พิธีเดียวกัน ฝาอุดกริ่งทองแดงและตะกั่วลักษณะเรียบนำมาตอกฝาอุดกริ่งกลับด้าน จาร 'อุ' หลังเสร็จพิธีหลวงตานำไปตอกโค๊ดคนละตัวกันกับวัดซับตะเคียน เจาะไม้เป็นร่องใช้ผ้ารองเพื่อใส่วัตถุมงคล ตอกโค๊ดเอง ส่วนใหญ่จะเห็นโค๊ดที่ตอกลึกและชัด และยังได้แบ่งวัตถุมงคลเสาร์๕รุ่น๑ ที่ทางวัดซับตะเคียนไป ๕๐๐ องค์ ในส่วนของที่ตอกโค๊ดวัด(วัดซับตะเคียน)นำไปแจกญาติโยมทอดผ้าป่าสามัคคี ณ วัดโป่งสะทอน ต.ท่าด้วง อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์
วัตถุมงคลเสาร์๕รุ่น๑ ปี๕๐ นี้ช่างแกะบล๊อคด้วยกัน๓พิมพ์เพื่อที่จะใช้ในโรงงานแม่และโรงงานสาขา เพื่อให้แล้วเสร็จก่อนวันพิธีพุทธาภิเษก จุดสังเกตุอีกอย่างหนึ่งที่ใต้ฐานพระเนื้ออัลปาก้าและเนื้อทองเหลืองจะมีลักษณะกระเทาะเกือบทุกๆองค์ขึ้นอยู่จะมากหรือน้อย(เกิดการเย็นตัวของโหละที่ใช้หล่อขององค์พระ)
1.รูปหล่อเสาร์ห้า1
-เนื้อเงิน 99 องค์ (เนื้อเงินวาวใส 55 องค์ที่เหลือเป็นเนื้อเงินขุ่น)
-เนื้ออัลปาก้า 2,000 องค์
-เนื้อทองเหลือง 3,000 องค์
Cr.ข้อมูลดามส์ ซับตะเคียนและแอดมินกลุ่ม
 

แก้ไขขัอผิดพลาดหน้าที่71...
แก้ไขขัอผิดพลาดหน้าที่71...


โดย  เน็ด นาป่า  วันที่ 2015-07-25 01:34:46 
 

Total 0 Record : 1 Page : 1